วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553

Agency Problems

การที่กรรมการและผู้บริหารบริษัท เป็นคนละคนกับผู้ถือหุ้น ทำให้เกิดปัญหาที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า "ปัญหาตัวแทน" (agency problem) กล่าวคือ ผลประโยชน์ของกรรมการและผู้บริหารในบางกรณีอาจไม่ตรงกัน หรือแม้แต่ขัดแย้งกับผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นที่แต่งตั้งให้พวกเขาเป็นตัวแทน เช่น ซีอีโออาจต้องการนำกำไรของบริษัทส่วนหนึ่งไปซื้อกิจการของบริษัทคู่แข่ง เพื่อขยายธุรกิจและทำให้ตัวเองมีชื่อเสียง แทนที่จะส่งกำไรนั้นคืนให้กับผู้ถือหุ้นในรูปของเงินปันผล หลายครั้ง ผลประโยชน์ที่ขัดกันนั้นเป็น "ปัญหาโลกแตก" ที่ไม่มี "ทางออก" ง่ายๆ เพราะการตัดสินว่าอะไรดีไม่ดีนั้นขึ้นอยู่กับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง และแนวโน้มของอนาคตนั้นก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละฝ่าย ซึ่งมีปัจจัยและรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย เช่น ซีอีโออาจพยายามอธิบายต่อผู้ถือหุ้นว่าการนำกำไรไปซื้อกิจการคู่แข่งนั้นจะทำให้กำไรของบริษัทดีขึ้นมากในระยะยาว ซึ่งจะทำให้บริษัทจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นมากขึ้นด้วย แต่ผู้ถือหุ้นบางรายอาจแย้งว่า การซื้อกิจการนั้น "ไม่คุ้ม" เพราะคนขายตั้งราคาสูงเกินไป และกิจการนั้นก็ไม่ได้มีแนวโน้มดีอย่างที่ซีอีโอเชื่อ ฯลฯ

ข้อเท็จจริงประการที่สองคือ "เจ้าของ" (ผู้ถือหุ้น) บริษัท โดยเฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ไม่ใช่ตระกูลผู้ก่อตั้งกลุ่มเดียวอีกต่อไป หากประกอบด้วยผู้ถือหุ้นหลายประเภท หลายฝ่าย ซึ่งมีเป้าหมายและกลยุทธ์ในการลงทุนแตกต่างกัน เราอาจแบ่งนักลงทุนทุกประเภทออกเป็นสองประเภทกว้างๆ คือ "นักลงทุนรายย่อย" หมายถึงคนธรรมดาที่ซื้อขายหุ้นทีละตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักแสนหุ้น (ถ้าซื้อมากกว่านั้นคงไม่ใช่ "รายย่อย" จริง แต่เป็น "ขาใหญ่" มากกว่า) และ "นักลงทุนสถาบัน" คือนิติบุคคลประเภทต่างๆ ที่ส่วนใหญ่ได้รับมอบหมายให้ลงทุนในหุ้นแทนลูกค้า (ซึ่งอาจเป็นนิติบุคคล หรือนักลงทุนรายย่อย) นักลงทุนสถาบันสามารถแบ่งย่อยลงไปได้อีกมากมายตามเป้าหมายของการลงทุน เช่น กองทุนรวม (mutual fund) จะเน้นหุ้นดีมีปัจจัยพื้นฐานรองรับเพื่อลงทุนระยะยาว กองทุนเฮดจ์ฟันด์ (hedge fund) จะเน้นการเก็งกำไรระยะสั้น ซื้อเร็วขายเร็ว และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (pension fund) จะเน้นหุ้นมีปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก เพราะลูกค้าคือพนักงานบริษัทที่ต้องการถอนเงินไปใช้หลังเกษียณ ปัจจุบันกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศมหาอำนาจต่างๆ อาทิ อเมริกา อังกฤษ แคนาดา เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ฯลฯ ลงทุนเม็ดเงินจำนวนมหาศาลในตลาดทุนทั่วโลก เป็นประเภทนักลงทุนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน (ในแง่ปริมาณเงินภายใต้การบริหารจัดการ)

การที่นักลงทุนรายย่อยจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เลือกลงทุนในกองทุนต่างๆ ที่มีมืออาชีพบริหารเงินลงทุนให้ แทนที่จะซื้อหุ้นเองโดยตรง ส่งผลให้ช่องว่างระหว่าง "ผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง" (ultimate beneficiary) จากการถือหุ้น (เช่น คนที่ได้รับเงินปันผล) และ "ผู้ถือหุ้น" ที่ปรากฏบนทะเบียนผู้ถือหุ้น (เช่น ชื่อกองทุน) ขยายห่างมากกว่าเดิม นอกจากนี้ การเติบโตของบริษัทเฉพาะด้านที่ทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ให้หรือถือหุ้นแทนกองทุน (ในรูปของทรัสต์ คัสโตเดียน หรือนอมินี) ยังทำให้ช่องว่างขยายใหญ่ขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง (กองทุนต่างๆ ชอบใช้บริการของนอมินีเพราะจะได้ไม่ต้องพะวงเรื่องเอกสารต่างๆ สามารถทุ่มเทเวลาให้กับการบริหารพอร์ตลงทุนได้อย่างเต็มที่)

ช่องว่างที่ขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ระหว่าง "ผู้ถือหุ้น" และ "ตัวแทนผู้ถือหุ้น" และ "กรรมการ/ผู้บริหาร" ที่ทำให้กรรมการหรือผู้บริหารสามารถฉ้อโกงบริษัทหรือผู้ถือหุ้นได้ง่ายขึ้นเรื่อยๆ คือเหตุผลหลักที่ทำให้โครงสร้างการถือหุ้นและการบริหารจัดการบริษัท (ซึ่งเป็นนิยามที่แคบที่สุดของ "ธรรมาภิบาลบริษัท") เป็นประเด็นที่สำคัญอย่างยิ่งในโลกยุคโลกาภิวัตน์

ความหมายของ CSR (corporate Socical Responsibility)

ซีเอสอาร์คืออะไร
ซีเอสอาร์ เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษว่า Corporate Social Responsibility (CSR) หรือ บรรษัทบริบาล หมายถึง การดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอกองค์กร ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมทั้งในระดับใกล้และไกล ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรหรือทรัพยากรจากภายนอกองค์กร ในอันที่จะทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข

หากพิจารณาแยกเป็นรายคำศัพท์ คำว่า Corporate มุ่งหมายถึงกิจการที่ดำเนินไปเพื่อแสวงหาผลกำไร ส่วนคำว่า Social ในที่นี้ มุ่งหมายถึงกลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์กันหรือมีวิถีร่วมกันทั้งโดยธรรมชาติหรือโดยเจตนา รวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่นและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รายรอบประกอบ และคำว่า Responsibility มุ่งหมายถึงการยอมรับทั้งผลที่ไม่ดีและผลที่ดีในกิจการที่ได้ทำลงไปหรือที่อยู่ในความดูแลของกิจการนั้นๆ ตลอดจนการรับภาระหรือเป็นธุระดำเนินการป้องกันและปรับปรุงแก้ไขผลที่ไม่ดี รวมถึงการสร้างสรรค์และบำรุงรักษาผลที่ดีซึ่งส่งกระทบไปยังผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ

ลำดับชั้นของผู้มีส่วนได้เสียในระดับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับซีเอสอาร์

คำว่า กิจกรรม ในความหมายข้างต้น หมายรวมถึง การคิด การพูด และการกระทำ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ การวางแผน การตัดสินใจ การสื่อสารประชาสัมพันธ์ การบริหารจัดการ และการดำเนินงานขององค์กร

สังคมในความหมายของความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ จะมุ่งไปที่ผู้มีส่วนได้เสียนอกองค์กร ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ ได้แก่ สังคมใกล้ และสังคมไกล

สังคมใกล้ คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับองค์กรโดยตรง ได้แก่ ลูกค้า คู่ค้า ครอบครัวของพนักงาน ชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ ซึ่งรวมถึงสิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศ

สังคมไกล คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรโดยอ้อม ได้แก่ คู่แข่งขันทางธุรกิจ ประชาชนทั่วไป เป็นต้น

ในระดับของลูกค้า ตัวอย่างซีเอสอาร์ของกิจการ ได้แก่ การสร้างผลิตภัณฑ์ที่เน้นคุณค่ามากกว่ามูลค่า ความรับผิดชอบในผลิตภัณฑ์ต่อผู้บริโภค การให้ข้อมูลขององค์กรและตัวผลิตภัณฑ์อย่างเพียงพอและอย่างถูกต้องเที่ยงตรง มีการให้บริการลูกค้าอย่างตรงไปตรงมา เป็นต้น

ในระดับของคู่ค้า ตัวอย่างซีเอสอาร์ของกิจการ ได้แก่ การแบ่งปันหรือการใช้ทรัพยากรร่วมกันหรือการรวมกลุ่มในแนวดิ่งตามสายอุปทาน ความรอบคอบระมัดระวังในการผสานประโยชน์อย่างเป็นธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบต่อคู่ค้า เป็นต้น

ในระดับของชุมชนและสภาพแวดล้อม ตัวอย่างซีเอสอาร์ของกิจการ ได้แก่ การสงเคราะห์เกื้อกูลชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ การส่งเสริมแรงงานท้องถิ่นให้มีโอกาสในตำแหน่งงานต่างๆ ในองค์กร การสนับสนุนแนวทางการระแวดระวังในการดำเนินงานที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ และการเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข เป็นต้น

ในระดับของประชาสังคม ตัวอย่างซีเอสอาร์ของกิจการ ได้แก่ การสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มหรือเครือข่ายอื่นๆ ในการพัฒนาสังคม การตรวจตราดูแลมิให้กิจการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน การรับฟังข้อมูลหรือทำประชาพิจารณ์ต่อการดำเนินกิจการที่ส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม และการทำหน้าที่ในการเสียภาษีอากรให้รัฐอย่างตรงไปตรงมา เป็นต้น

ในระดับของคู่แข่งขันทางธุรกิจ ตัวอย่างซีเอสอาร์ของกิจการ ได้แก่ การดูแลกิจการมิให้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแข่งขันด้วยวิธีการทุ่มตลาด การดำเนินงานในทางต่อต้านการทุจริต รวมทั้งการกรรโชก และการให้สินบนในทุกรูปแบบ เป็นต้น

ความหมายของ Conflict of Interests

ปัญหาความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม ( Conflict of Interests ) เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับหลายมิติ ทั้งมิติด้านสังคม การเมือง และการบริหาร ที่สำคัญสะท้อนถึงวัฒนธรรมและค่านิยมในการบริหารที่ด้อยพัฒนา หากข้าราชการและพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐขาดจิตสำนึกในหน้าที่ที่จะปกป้องผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ มีการใช้อำนาจทางราชการโดยมิชอบในการดำเนินกิจกรรมเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อตนเอง กลุ่ม พรรค พวกพ้อง เหนือผลประโยชน์ส่วนรวม ย่อมส่งผลกระทบต่อสถาบันราชการ และสร้างความเสียหายต่อประเทศชาติและประชาชน ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐควรสร้างความตระหนักและหามาตรการ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา เพื่อนำมาสู่การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและค่านิยม การสร้างจิตสำนึก และเสริมสร้างจริยธรรมของเจ้าหน้าที่และพนักงานของรัฐในการทำงานเพื่อส่วนรวม ยึดถือหลักจริยธรรม และผลประโยชน์ส่วนรวมในการปฏิบัติราชการจึงเป็นเรื่องที่มีความ

สำหรับความหมายของ Conflict of Interests มีความหลากหลาย รวมถึง

“ ผลประโยชน์ทับซ้อน”

“ การขัดกันแห่งผลประโยชน์ ”

“ การคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย ”

“ การขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวมจากการดำรงตำแหน่งสาธารณะ ”

Conflict of Interests มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ คือ

1.เรื่องผลประโยชน์ส่วนบุคคล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลประโยชน์ทางการเงิน

2.เรื่องของการใช้ดุลพินิจในการปฏิบัติหน้าที่

3.การปฏิบัติหน้าที่โดยใช้สถานะ และขอบเขตอำนาจของเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานของรัฐ

และย้ำว่า เป็นประเด็นการขาดจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ เขาได้อ้างอิงงานของเคนเนท เคอร์นักฮาน และจอน ลางฟอร์ด และได้ประมวลการกระทำที่อยู่ในข่าย Conflict of Interests ได้แก่ การหาประโยชน์ให้ตนเอง Self dealing ได้แก่ การใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อตนเอง เช่น ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ทำให้บริษัทตัวเองได้งานรับเหมาจากรัฐ หรือฝากลูกหลานเข้าทำงาน

การกระทำที่อยู่ในข่าย Conflict of Interests

รับผลประโยชน์ ( Accepting Benefits ) คือ การรับสินบนหรือรับของขวัญ เช่น เป็นเจ้าพนักงานสรรพากรแล้วรับเงินจากผู้มา เสียภาษี หรือเป็นเจ้าหน้าที่จัดซื้อแล้วไปรับไม้กอล์ฟจากร้านค้า เป็นต้น

ใช้อิทธิพล ( Influence Peddling ) เป็นการเรียกผลตอบแทนในการใช้อิทธิพลในตำแหน่งหน้าที่ เพื่อส่งผลที่เป็นคุณแก่ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งอย่างไม่เป็นธรรม

ใช้ทรัพย์สินของนายจ้างเพื่อประโยชน์ส่วนตน ( Using employer’s property for private advantage ) ได้แก่ การใช้รถราชการ หรือใช้คอมพิวเตอร์ของราชการทำงานส่วนตัว เป็นต้น

ใช้ข้อมูลลับของราชการ ( Using confidential information ) เช่น รู้ว่าราชการจะตัดถนน แล้วรีบชิงไปซื้อที่ดักหน้าไว้ก่อน

รับงานนอก ( Outside employment or moonlighting ) ได้แก่ การเปิดบริษัทหากินซ้อนบริษัทที่ตนเองทำงาน เช่น เป็นพนักงานขายแอบเอาสินค้าตัวเองมาขายแข่ง หรือเช่นนักบัญชีที่รับงานส่วนตัวจนไม่มีเวลาทำงานบัญชีในหน้าที่ให้ราชการ

ทำงานหลังออกจากตำแหน่ง ( Post Employment ) เป็นการไปทำงานให้ผู้อื่นหลังออกจากงานเดิม โดยใช้ความรู้หรืออิทธิพลที่เดิมมาชิงงาน หรือเอาประโยชน์โดยไม่ชอบธรรม เช่น เอาความรู้ในนโยบาย และแผนของธนาคารชาติไปช่วยธนาคารเอกชนหลังเกษียณ

แนวทางป้องกันและแก้ไข

สำหรับมาตรการแก้ไข และป้องกัน อาจทำโดยออกเป็นมาตรการเร่งด่วนหรือระยะสั้น มาตรการระยะยาว และมาตรการเชิงกลยุทธ์ ดังนี้

มาตรการระยะเร่งด่วน / ระยะสั้น ที่จะลดปัญหา Conflict of Interests คือ

-สร้างความชัดเจน และลดการใช้ดุลยพินิจ

-ดูแลควบคุมขนาดประโยชน์ ยิ่งประโยชน์มากยิ่งเย้ายวนและจูงใจให้คนเข้าไปแสวงประโยชน์ ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม

-ส่งเสริมให้มีการแข่งขัน ซึ่งจะนำไปสู่การลดการผูกขาดและลดการแสวงประโยชน์

-ลดความซับซ้อนของระบบ ช่วยลดขั้นตอน และลดการ แทรกแซงจากกลุ่มผลประโยชน์

มาตรการระยะยาว

เป็นเรื่องของสังคม และการสร้างจิตสำนึกในแต่ละหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผล ประโยชน์ควรมีการปฏิบัติในระบบเปิด

-การกำหนดให้มีบุคคลภายนอกหลาย ๆ ฝ่ายเป็นกรรมการคอยสอดส่องดูแล โดยเฉพาะหน่วยจัดซื้อจัดจ้างต้องตรวจสอบให้โปร่งใส โดยตัวแทนจากหลาย ๆ ฝ่าย ซึ่งเป็นมาตรการที่ป้องกันการกระทำที่แสวงประโยชน์ได้ในระดับหนึ่ง ที่สำคัญต้องมีการตรวจสอบมีการถ่วงดุลซึ่งกันและกัน

-ในระยะยาวมีการปลูกฝัง อบรมสั่งสอนตั้งแต่เด็ก มีกระบวนการสรรสร้างความรู้ให้วิถีชีวิตของเด็กใช้หลักเหตุผลหล่อหลอมวิธีคิดและสามารถเชื่อมโยงได้ว่าอะไรคือสาธารณะ เป็นกระบวนการหล่อหลอมความคิด

มาตรการเชิงกลยุทธ์ ควรให้ความสำคัญในเรื่องต่อไปนี้ คือ

-การเสริมสร้างระบบวัฒนธรรมและจรรยาวิชาชีพ การมีมาตรการที่สร้างในองค์การอาจไม่สำเร็จ จึงต้องมีกระบวนการขัดเกลาทางสังคม ( Socialization Process ) โดยเฉพาะการขัดเกลาคนก่อนที่จะเข้ามาในองค์การ มีการกลั่นกรองคนที่มีจิตสำนึกสาธารณะเข้ามาทำงานมากกว่าการมองคนเก่งอย่างเดียว


-จัดระบบการศึกษา การฝึกอบรมบุคลากรให้เข้าใจเรื่อง Conflict of Interests เน้นการใช้ประโยชน์โดยใช้สื่อสารมวลชน ด้วยการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งทางโทรทัศน์ วิทยุ ป้ายประชาสัมพันธ์

-ให้ความสำคัญกับภาคประชาชน ภาคประชาสังคม เน้นความเข้มแข็งของชุมชนในระดับรากหญ้า เพื่อเป็นพลังในการผลักดัน ตรวจสอบและแก้ไขปัญหา Conflict of Interests ในสังคมไทย

-มีระบบการตรวจสอบที่เข้มงวด ปรับปรุงกฎหมายวิธีพิจารณาทางการปกครองให้เคร่งครัด มีการบังคับใช้ เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหา Conflict of Interests อย่างจริงจัง

ความหมายและความสำคัญของการจัดการการคลังภาครัฐ

ความหมายของการคลังภาครัฐ

การคลังภาครัฐ (Public Finance) หมายถึง การคลังในส่วนของรัฐบาล หรือการคลังในกิจกรรมที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ การคลังภาครัฐ หรือการคลังของรัฐบาลเป็นเรื่องเกี่ยวกับกิจกรรมทางการคลัง การเงินต่างๆ ของรัฐบาลที่ถือเป็นหน่วยที่สำคัญหน่วยหนึ่งของระบบสังคม เนื่องจากมีผลผูกพันและกระทบไม่เฉพาะชีวิตความเป็นอยู่ของคนในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังมักจะส่งผลกระทบและผูกพันถึงคนในอนาคตหรือในยุคต่อไปด้วย

·การคลังภาครัฐ ครอบคลุมถึงปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศแทบทุกประการ โดยอาจแบ่ง

ปัญหาได้เป็น 4 ประการใหญ่ๆ คือ

1)ปัญหาการจัดสรรทรัพยากร (Resource Allocation)

2)ปัญหาการกระจายรายได้ประชาชาติ (Income Distribution)

3)ปัญหาการทำให้คนมีงานทำ (Full Employment)

4)ปัญหาเสถียรภาพของระดับราคาและการพัฒนาเศรษฐกิจ (Price-Level Stability and Economic Growth)


·การคลัง เป็นเรื่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าไปมีบทบาทในทางเศรษฐกิจของรัฐบาลในด้าน

ต่างๆ รวม 4 ด้าน คือ

1) การจัดสรรทรัพยากร (The Allocation Function)

2) การกระจายรายได้ประชาชาติ (The Distribution Function)

3) การรักษาเสถียรภาพและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (The Stabilization Function)

4) การประสานงบประมาณ (Coordination of Budget Functions)


·การคลัง เป็นการกำหนดนโยบายและการดำเนินงานด้านการเงินของรัฐบาล ซึ่งในทางปฏิบัติ

จะเกี่ยวข้องกับรายได้ของรัฐบาล (Government Revenue) ที่ได้มาจากภาษีอากรและแหล่งรายได้อื่นๆ รายจ่ายรัฐบาล (Government Expenditure) หนี้ของรัฐบาล (Government Debt) หรือหนี้สาธารณะ (Public Debt) และนโยบายการคลัง (Fiscal Policy)


·การคลังภาครัฐ (Public Finance) ที่เรียกกันอยู่ทั่วไปนั้นเป็นคำที่ไม่ตรงกับความหมายตาม

ตัวอักษรที่คำนี้ควรเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเงินและโดยเหตุผลดังกล่าวผู้แต่งตำราบางคนจึงนิยมที่จะเรียกคำนี้ว่า “เศรษฐศาสตร์ในภาครัฐ (Public Sector Economics)” หรือ “เศรษฐศาสตร์ของรัฐ Public Economics)” แทน โดยหมายถึงหน้าที่ทางเศรษฐศาสตร์จุลภาคของรัฐบาลในการจัดสรรทรัพยากรและการกระจายรายได้ รวมทั้งหน้าที่ทางเศรษฐศาสตร์มหภาคของรัฐบาลในการจัดเก็บภาษี การใช้จ่าย และการใช้นโยบายการเงินที่มีผลต่อภาพรวมการว่างงานในทุกระดับ และต่อระดับราคา

·การคลังภาครัฐ (Public Finance) เป็นการศึกษากิจกรรมการหารายได้และการใช้จ่ายของ

รัฐบาล การอธิบายเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ภาษีอากร รายจ่ายสาธารณะ และหนี้สาธารณะ การคลังภาครัฐเป็นการศึกษาผลกระทบต่างๆ ของงบประมาณต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะผลกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายสำคัญทางเศรษฐกิจในด้านความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ ตลอดจนประสิทธิภาพการบริหาร นอกจาหนี้ การคลังภาครัฐยังเป็นการศึกษาถึง “สิ่งที่ควรจะเป็น (What to be)” การทำความเข้าใจการคลังภาครัฐจะทำให้สามารถอธิบายประเด็นสาธารณะต่างๆ ดังต่อไปนี้ได้ดีขึ้น

1) กิจการของรัฐควรมีขอบข่ายครอบคลุมถึงอะไรบ้าง

2) บริการสาธารณะประเภทใดควรจะอยู่ในความดูแลรับผิดชอบจัดให้ บริการของส่วนกลาง

หรือส่วนท้องถิ่นจึงจะถูกต้อง

3) ระบบภาษีอากรที่กำลังใช้อยู่เป็นอุปสรรคขัดขวางการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจหรือไม่

4) เหตุใดท้องถิ่นจึงประสบปัญหาในการบริหารงานมากมาย และท้องถิ่นควรจะหาทางออก

ของท้องถิ่นเองอย่างไร เพื่อให้ส่วนกลางเข้ามาแทรกแซงได้น้อยที่สุด

5) รัฐบาลจะมีวิธการอย่างไรในการรับมือกับวงจรธุรกิจ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดคิดมา

ก่อนอันสืบเนื่องจากความพลาดพลั้งของมนุษย์ หรือเมื่อมีการประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจผิดพลาด

6) เหตุใดจึงต้องกังวลกับการเป็นหนี้ของประเทศชาติ

การคลังภาครัฐ หรือ การคลังรัฐบาล ประกอบด้วยการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี พฤติกรรม กิจกรรมการดำเนินงาน ตลอดจนแนวปฏิบัติต่างๆ เกี่ยวกับ การหารายได้ การใช้จ่ายสาธารณะ การภาษีอากร การก่อหนี้สาธารณะ การใช้จ่ายของรัฐบาล บทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจ นโยบายการเงิน และนโยบายการคลัง ระดับประเทศ และ/หรือระดับท้องถิ่น รวมทั้งการศึกษาผลกระทบจากกิจกรรมการดำเนินการต่างๆ ทางการคลังของรัฐบาลที่มีต่อสังคมและประเทศโดยส่วนรวม


ความสำคัญของการคลังภาครัฐ

จากความหมายของคำว่า การคลังภาครัฐ (Public Finance) จะเห็นว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการเมืองการบริหาร เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศที่ยากจะแยกประเด็นออกจากกันได้ชัดเจนที่นักวิชาการบางท่านเอ่ยถึง การคลังภาครัฐนับเป็นส่วนประกอบสำคัญส่วนหนึ่งของสังคม ซึ่งสังคมเกิดจากสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ปัจเจกบุคคลแต่ละคนก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่มีชีวิตดังกล่าว ในกรณีนี้รัฐบาลก็ทำหน้าที่เปรียบเสมือนหัวใจ บ้านเมืองเปรียบเสมือนร่างกายมนุษย์ที่มีชีวิตจิตใจที่ต่างกับเครื่องจักรซึ่งเมื่อแยกชิ้นส่วนออกจากกันแล้วยังสามารถนำกลับมาต่อเข้าด้วยกันเหมือนเดิมได้ ในขณะที่การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมกระทำแบบเครื่องจักรไม่ได้ หรือถ้าเปรียบอวัยวะต่างๆ ทั้งหมดในร่างกายของมนุษย์เป็นระบบราชการทั้งระบบการคลังก็อาจเปรียบได้กับหัวใจที่มีหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ ร่างกายที่มีหัวใจสมบูรณ์แข็งแรงสามารถลำเลียงโลหิตไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้อย่างสม่ำเสมอตลอดเวลาตามที่สมองสั่งการได้ฉันใด ก็อุปมาดั่งการคลังที่สามารถทำหน้าที่รองรับกลไกระบบการบริหารงานต่างๆ ของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ตราสารหนี้

ตราสารหนี้
ตราสารหนี้ หรือ Fixed Income Securities คือ ตราสารทางการเงิน ที่ผู้ออกตราสาร ซึ่งเรียกว่า ผู้กู้หรือลูกหนี้ มีข้อผูกพันทางกฎหมายว่าจะจ่ายผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ยเป็นงวดๆและเงินต้น หรือ ผลประโยชน์อื่นๆตามกําหนดในตราสารให้แก่ผู้ซื้อ ซึ่งเรียกว่า เจ้าหนี หรือ ผู้ให้กู้ เมื่อครบกําหนดที่ตกลงกันไว้โดยทั่วไปตราสารหนี้ในตลากทุนมักจะหมายถึง ตราสารหนี้ที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป

องค์ประกอบของตราสารหนี้

มูลค่าที่ตราไว้ Par Value
หมายถึง มูลค่าเงินต้นที่ระบุไว้ในตราสารหนี้แต่ละหน่วยที่ผู้กู้ จะต้องชําระคืนให้กับผู้ถือตราสารหนี้นั้น เมื่อครบกําหนดชําระ มูลค่าดังกล่าวอาจลดลงเมื่อมีการทยอยจ่ายคืนเงินเงินต้น

อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว Coupon Rate คืออัตราดอกเบี้ยที่ผู้ออกมีภาระจะต้องจ่ายให้กับผู้ถือตราสารหนี้นั้นๆตามงวดการจ่ายดอกเบี้ยที่กําหนดตลอดอายุของตราสารหนี้นั้น

งวดการจ่ายดอกเบี้ย Coupon Frequency คือ จํานวนครั้งของการจ่ายดอกเบี้ยต่อ ซึ้งขึ้นอยู่กับข้อกําหนดของผู้ออกตราสารหนี้ แต่โดยส่วนใหญ่มักจะกําหนดให้มีการจ่ายดอกเบี้ยทุกครุ่งปี

วันครบกําหนดไถ่ถอน Maturity Date หมายถึง วันหมดอายุของตราสารหนี้ ที่ผู้ออกจะต้องจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยงวดสุดท้าย(ถ้ามี)ให้แก่ผู้ถือ

ชื่อผู้ออก Issuer Name

ข้อสัญญา และประเภทของตราสารหนี้ Covenants
หมายถึง เงื่อนไง สิทธิแฝง และข้อมูลที่ระบุ ซึ่งผู้ถือจะต้องประฎิบัติ หรืองดเว้นการปฎิบัติตลอดอายุของตราสารหนี้นั้น เช่น การดํารงสัดส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นไม่เกินอัตราที่กําหนด การให้สิทธิในการไถ่ถอนตราสารนั้นๆก่อนกําหนดตามที่ระบุไว้ เป็นต้น

การจัดการการเงิน

การจัดการการเงินของกิจการ คือ การทําให้มูลค่าของกิจการสูงสุด การทําให้เกิดความมั่งคั่งสูงสุดแก่ผู้ถือหุ้นโดยแสดงออกมาในรูปของตลาดหุ้นสามัญสูงสุด
หน้าที่การจัดการการเงิน
1. การตัดสินใจลงทุน : การจัดสรรเงินทุนเพื่อการลงทุนในสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อกิจการมากที่สุด
1.1 การลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน : เงินสด,หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด,ลูกหนี้,สินค้าคงคลัง:ต้องตัดสินใจในสินทรัพย์หมุนเวียนแต่ละประเภท ในระดับที่ก่อให้เกิดความสามารถในการทํากําไรให้แก่ธุรกิจสูงสุดโดยมีสภาพคล่องที่เหมาะสม

นโยบายการจัดหาเงินทุนหมุนเวียนทั้ง 3 แนวคิด
-แนวคิดขาดดุล
-แนวคิดเกินดุล
-แนวคิดสมดุล

การจัดการสินค้าคงเหลือ : ตามแบบจําลองปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด EOQ
-การกําหนดปริมาณการสั่งซื้อต่อครั้งที่ทําให้เกิดประหยัด
-การกําหนดจุดสั่งซื้อ
-การกําหนดสินค้าคงเหลือเผิ่อขาด

ความเสี่ยงและผลตอบแทน:
-ความเสี่ยงและผลตอบแทนจะมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน โดยการลงทุนใดที่มีความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนที่ต้องการก็จะสูงตาม
-ความเสี่ยงของการลงทุนในหุ้นมี 2 ส่วนคือ ส่วนที่สามารถขจัดได้ และ ความเสี่ยงจากภาวะตลาด
-ความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนในหลักทรัพย์สามารถทําให้ลดลงได้โดยการลงทุนในหลักทรัพย์มากชนิดหรือเพิ่มขนาดของ Porrtolio
-ความเสี่ยงจากภาวะตลาด เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นและกระทบกับทุกกิจการโดยรวมอย่างเป็นระบบ เช่น เกิดสงคราม,ภาวะเศรษฐกิจตกตํา ซึ่งไม่สามารถขจัดได้ด้วยการกระจายการลงทุน

ตราสารทุน(Equity Instruments)

ตราสารทุน คือตราสารที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือเพื่อแสดงสิทธิของความเป็นเจ้าของในกิจการนั้น
ประเภทของตราสารทุน
1. หุ้นสามัญ (Common Stocks หรือ Ordinary Shares) คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการและเมื่อกิจการมีกําไรจากการดําเนินงาน ผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับเงินปัญผลในอัตราที่จัดสรรโดยที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น โดยคํานวณตามสัดส่วนของจํานวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นนั้นถือครอง ทั้งนี้เงินปันผลอาจสูงขึ้นหรือลดตําลงก็ได้ ขึ้นอยู่กับผลกําไรจากการดําเนินงานประจําปี
2. หุ้นบุริมสิทธิ์ (Preferred Stocks) คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการที่มีการจดบุริมสิทธิ์ไว้อย่างแจ้งชัดไม่สามารถยกเลิกได้ เมื่อกิจการมีกําไรจากการดําเนินงาน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับเงินปันผลใน อัตตราคงที่ ตามจดบุริมสิทธิ์ไว้ซึ่งอาจจะมากหรือน้อยกว่าผู้ถือหุ้นสามัญก็ได้ แต่หากกิจการนั้นมีอันต้องเลิกดําเนินการและมีการชําระบัญชีโดยการขายทรัพย์สิน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับเงินคือทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ
3. ใบสําคัญแสดงสิทธิในหุ้น (Stock Warrants) คือ คราสารสิทธิที่กิจการออกให้แก่ผู้ลงทุนเพื่อให้สิทธิในการซื้อหุ้นออกใหม่ในราคา จํานวน และภายในระยะเวลาที่กําหนด ผู้ลงทุนจะมีสิทธิในความเป็นเจ้ของกิจการต่อเมื่อได้ใช้สิทธิในการซื้อหุ้นของกิจการนั้นแล้วเท่านั้น
4. หน่วยลงทุนในกองทุนตราสารแห่งทุน คือ ตราสารสิทธิในการเป็นเจ้าของหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีนโยบายเฉพาะในตราสารแห่งทุน ผู้ลงทุนจะมีสิทธิความเป็นเจ้าของกิจการที่กองทุนรวมนั้นลงทุนไว้ ตามสิทธิที่เฉลี่ยระหว่างผูถือหน่วยลงทุนทั้งหมดในกองทุนรวมนั้นนั่นเอง
5. ตราสารแสดงสิทธิในอนุพันธ์ที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น (stock options & futures) คือ สัญญาที่ผู้ลงทุนสองฝ่ายตกลงกันเพื่อนซื้อหรืขายหุ้นในราคา จํานวน และภายในระยะเวลาที่กําหนด